โรคไต kidney disease

หน้าที่หลักของไต ได้แก่
  • กรองของเสียออกจากเลือด และกำจัดออกทางปัสสาวะ
  • ควบคุมสมดุลขอบแร่ธาตุ เช่นโซเดียมฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม เป็นต้น
  • ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนบางชนิดซึ่งช่วยควบคุมความดันเลือด และสร้างเม็ดเลือดแดง
โรคไตเป็นกลุ่มโรคที่เกิดความเสียหายของไต ทำให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกายได้ตามปกติ ของเสียจึงสะสมอยู่ในร่างกายสัตว์ร่างกายจะสูญเสียความสมดุลของกรด-ด่าง น้ำ และแร่ธาตุในกระแสเลือด ส่งผลกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมน ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจ และหลอดเลือดตามมาได้
คุณทราบหรือไม่
เมื่อมีความเสียหายที่ไต จะมีฟอสฟอรัสสะสมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น และอาจทำให้มีปัญหาฮอร์โมนตามมา ดังนั้นเมื่อสัตว์ป่วยด้วยโรคไตจึงควรให้อาหารที่มีฟอสฟอรัสต่ำ เพื่อช่วยลดหรือชะลอความรุนแรงของโรคไตในสุนัข
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต
  •       อายุ สนัขแก่มักมีความเสี่ยงมากกว่า ในสุนัขอายุเฉลี่ยประมาณ 6.6 ปี
  •       สายพันธุ์ บางสายพันธุ์มีความเสี่ยงสูง เช่น พันธุ์ชิห์สุ คอกเกอร์ สแปเนียล โดเบอร์แมน ลาซ่า แอปโซ่ เป็นต้น
  •       อาหาร อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงอาจมีแนวโน้มนำให้เกิดโรคไตได้
  •       ปัจจัยอื่นๆ เช่น ภาวการณ์ติดเชื้อ โรคนิ่ว สารพิษบางชนิด เช่น ฟีนอล สามารถโน้มนำให้เกิดโรคไตได้
อาการของโรคไต
      ส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการ จนกว่าไตจะเกิดความเสียหายมากกว่า 75 % ขึ้นไป โดยอาการอาจแตกต่างกัน แต่โดยมากการกินน้ำมากกว่าปกติมักจะสังเกตได้ก่อน หากพบอาการดังกล่าวควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วนเพื่อขอคำแนะนำ หรือวินิจฉัยเพิ่มเติม
อาการของโรคไตมีดังนี้
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เหนื่อยง่าย
  • ดื่มน้ำมาก ปัสสาวะมาก หรือไม่ปัสสาวะเลย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีกลิ่นปากแรง มีแผลในปากทำให้เจ็บปาก และกินอาหารน้อยลง
การรักษา
ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรักการวินิจฉัย และหาสาเหตุการเกิดโรคเพื่อให้น้องหมาได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันเวลา
      สัตวแพทย์มักแนะนำให้เจาะเลือดเพื่อตรวจสุขภาพความเสียหายของไต และภาวะโลหิตจางที่มักเกิดตามมา นอกจากนี้ยังอาจตรวจปัสสาวะหรือทำการเอ็กซเรย์เพิ่มเติม เพื่อช่วยวินิจฉัย