โรคและการดูแล


โรคไต  kidney disease
หน้าที่หลักของไต ได้แก่
-                   กรองของเสียออกจากเลือด และกำจัดออกทางปัสสาวะ
-                   ควบคุมสมดุลของแร่ธาตุ เช่น โซเดียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม เป็นต้น
-                   ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนบางชนิดซึ่งช่วยควบคุมความดันเลือด และสร้างเม็ดเลือดแดง
โรคไตเป็นกลุ่มโรคที่เกิดความเสียหายของไต ทำให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกายได้ตามปกติ ของเสียจึงสะสมอยู่ในร่างกายสัตว์ร่างกายจะสูญเสียความสมดุลของกรด-ด่าง น้ำ และแร่ธาตุในกระแสเลือด ส่งผลกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมน ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจ และหลอดเลือดตามมาได้
คุณทราบหรือไม่
เมื่อมีความเสียหายที่ไต จะมีฟอสฟอรัสสะสมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น และอาจทำให้มีปัญหาฮอร์โมนตามมา ดังนั้นเมื่อสัตว์ป่วยด้วยโรคไตจึงควรให้อาหารที่มีฟอสฟอรัสต่ำ เพื่อช่วยลดหรือชะลอความรุนแรงของโรคไตในสุนัข
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต
1.             อายุ สนัขแก่มักมีความเสี่ยงมากกว่า ในสุนัขอายุเฉลี่ยประมาณ 6.6 ปี
2.             สายพันธุ์ บางสายพันธุ์มีความเสี่ยงสูง เช่น พันธุ์ชิห์สุ คอกเกอร์ สแปเนียล โดเบอร์แมน ลาซ่า แอปโซ่ เป็นต้น
3.             อาหาร อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงอาจมีแนวโน้มนำให้เกิดโรคไตได้
4.             ปัจจัยอื่นๆ เช่น ภาวการณ์ติดเชื้อ โรคนิ่ว สารพิษบางชนิด เช่น ฟีนอล สามารถโน้มนำให้เกิดโรคไตได้
อาการของโรคไต
      ส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการ จนกว่าไตจะเกิดความเสียหายมากกว่า 75 % ขึ้นไป โดยอาการอาจแตกต่างกัน แต่โดยมากการกินน้ำมากกว่าปกติมักจะสังเกตได้ก่อน หากพบอาการดังกล่าวควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วนเพื่อขอคำแนะนำ หรือวินิจฉัยเพิ่มเติม
อาการของโรคไตมีดังนี้
-                   เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เหนื่อยง่าย
-                   ดื่มน้ำมาก ปัสสาวะมาก หรือไม่ปัสสาวะเลย
-                   คลื่นไส้ อาเจียน
-                   มีกลิ่นปากแรง มีแผลในปากทำให้เจ็บปาก และกินอาหารน้อยลง
การรักษา
ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรักการวินิจฉัย และหาสาเหตุการเกิดโรคเพื่อให้น้องหมาได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันเวลา
      สัตวแพทย์มักแนะนำให้เจาะเลือดเพื่อตรวจสุขภาพความเสียหายของไต และภาวะโลหิตจางที่มักเกิดตามมา นอกจากนี้ยังอาจตรวจปัสสาวะหรือทำการเอ็กซเรย์เพิ่มเติม เพื่อช่วยวินิจฉัย


โรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower Urianry Tract Disorders)

ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เป็นกลุ่มอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยในสุนัขพันธุ์เล็ก เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะหรือท่อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งนิ่วเกิดจากการรวมกันของแร่ธาตุในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วชนิดสตรูไวท์ และอ๊อกชาแลต เป็นนิ่วที่พบได้บ่อยที่สุดในสุนัข ทำให้ปัสสาวะลำบาก และอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายย้อนกลับขึ้นไปที่ไตได้
สาเหตุของโรค
1.              ภาวะความเป็นกรด- ด่าง ของปัสสาวะ
2.              การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ
3.              มีผลึก หรือก้อนนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ มักเกิดขึ้นในกระเพาะปัสสาวะซึ่งสามารถใช้โภชนบำบัดเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้
4.              ความอ้วน อายุ
5.              เพศ ในสุนัขเพศผู้มีโอกาสเกิดนิ่วได้ง่ายกว่าเพศเมีย (ยกเว้นนิ่วชนิดสตรูไวท์)
6.              สายพันธุ์ สุนัขพันธุ์เล็ก เช่น มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ พูดเดิ้ล ชิส์สุ และ ยอร์กเชีย เทอร์เรีย มีโอกาสเกิดนิ่วได้ง่าย ส่วนดัลเมเชี่ยนมักมีความเสี่ยงจะเกิดนิ่วชนิดยูเรตได้ง่าย เป็นต้น
7.              ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบจากสาเหตุอื่น มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความเคลียด สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงรวมกันหลายตัว เป็นต้น
อาหาร
1.              ปัสสาวะยาก เบ่ง ปัสสาวะกะปริบกระปรอย บางตัวอาจปัสสาวะเป็นเลือด
2.              เลียอวัยวะขับถ่าย ปัสสาวะผิดที่ หยดนอกถาดปัสสาวะ
3.              ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน
การรักษา
สัตวแพทย์อาจทำการวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น ตรวจปัสสาวะ เอ็กซเรย์ ส่งตรวจวิเคราะห์ชนิดของนิ่วในห้องปฏิบัติการ การรักษามักพิจารณาตามชนิดและขนาดของนิ่ว เช่น การผ่าตัด ส่วนท่อปัสสาวะ ให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาชนิดอื่นเพื่อรักษา ร่วมกับการเปลี่ยนอาหาร เป็นต้น
ความสำคัญของอาหารต่อโรคนิ่ว
อาหารมีส่วนสำคัญในการจัดการกับโรคนิ่ว และโรคระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อประกอบการรักษา และป้องกันการเกิดโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความอ้วนของน้องหมา

ความอ้วน
น้ำหนักตัวเกินของน้องหมาเป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อน้องหมาเพราะจะก่อให้เกิดโรคอื่นๆหลายโรคตามมาภายหลังได้ น้ำหนักส่วนเกินเกิดขึ้นได้เมื่อสัตว์เลี้ยงได้รับพลังงานมากกว่าพลังงานที่ใช้เกิดการสะสมในรูปไขมันทำให้มีการสะสมไขมันกระจายทั่วร่างกาย
สุนัขที่อ้วนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคดังต่อไปนี้
  • อายุสั้นกว่าสุนัขที่มีน้ำหนักมาตรฐาน
  • โรคกระดูกและข้อ
  • ไขมันในเส้นเลือดสูง ทำให้คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • สุขภาพของผิวหนังและขน
  • ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
  • เนื้องอก/มะเล็งเต้านมในสุนัขเพศเมีย                                                                                                                                                                
วิธีแก้ไขเมื่อสุนัขมีความอ้วนเกินไป
การลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้คำแนะนำของสัตวแพทย์ เริ่มจากการกำหนดน้ำหนักเป้าหมาย และเลือกโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับช่วงลดน้ำหนักการหมั่นเช็คน้ำหนักเป็นประจำช่วยกระตุ้นให้การลดน้ำหนักประสบความสำเร็จในที่สุด