ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์


ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) เป็นน้องหมาอีกพันธุ์หนึ่งที่น่ารักและเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งสุนัขพันธุ์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) ต่างกันที่ความยาวของขนและขนาดของกล้ามเนื้อลำตัวว โดยลาบาดอร์จะมีขนที่สั้นกว่า


ประวัติ
ลาบราดอร์ มีต้นตระกูลอยู่ที่นิวฟันด์แลนด์ ชายฝั่งทะเล ประเทศแคนาดา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ได้มีการนำสุนัขพันธุ์นี้ไปยังประเทศอังกฤษทางเรือประมง และต่อมาก็ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และเลี้ยงขึ้นมาในฐานะสุนัขล่าเหยื่อ และยังถูกใช้เป็นสุนัขกู้ภัย เพราะสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วแม้ในภูมิประเทศที่ขรุขระหรือแม้กระทั่งพื้นที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง
ในปีพ.ศ. 2378 มีผู้นำสุนัขลาบราดอร์ ลงเรือหาปลาไปขึ้นฝั่งที่ประเทศอังกฤษ จึงทำให้มีผู้พัฒนาสายพันธุ์มาเป็นสุนัขล่าเหยื่อและยังถูกใช้เป็นสุนัขกู้ภัยด้วย  เพราะสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วแม้ในภูมิประเทศที่ขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือแม้กระทั่งพื้นที่ที่เป็นน้ำเเข็ง สุนัขพันนี้เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องความอดทน เข้มแข็ง มีความสามารถในการดมกลิ่นดีเยี่ยม และเป็นสุนัขที่ขี้เล่น ประจบเจ้าของมาก

ลักษณะนิสัย
เป็นสุนัขที่มีเสน่ห์และน่าเลี้ยงอีกพันธุ์หนึ่ง มีลักษณะนิสัยที่ตื่นตัวตลอดเวลา กระฉับกระเฉง ฝึกง่าย ช่างประจบ และฉลาด สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เป็นมิตรกับคนและสัตว์อื่น เป็นสุนัขที่รักเด็กและชอบเล่นกับเด็ก นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการสะกดรอยและการปราบปรามยาเสพติด 
สุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ริทรีฟเวอร์เป็นสุนัขที่ฉลาดหลักแหลม กระตือรือร้น รักสนุก ช่างเอาอกเอาใจ เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะกับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก คุณสมบัติอีกอย่างของแลบราดอร์ริทรีฟเวอร์ก็คือ เป็นสุนัขเฝ้ายามที่ดี เนื่องจากมีเสียงเห่าทุ้มและหนักแน่น เป็นที่น่าเกรงขามเพื่อเตือนเมื่อมีผู้บุกรุก   ลาบราดอร์ริทรีฟเวอร์จะมีช่วงชีวิตอยู่ระหว่าง 12-15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และการดูแลเอาใจใส่

โรคที่มักเกิดกับสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์

รคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia ) เป็นโรคกระดูกที่พบได้มากใน สุนัข พันธุ์ใหญ่ ( Giant and large breed ) โดยพบมากถึง 1 ใน 3 ของโรคกระดูกทั้งหมดใน สุนัข โดยโรคนี้จะมีพัฒนาการในช่วงที่มีการเจริญเติบโต ของกระดูกจึงอาจพบได้ตั้งแต่ 4-12 เดือน

โรคกระดูกอ่อน เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับ สุนัข ที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกไม่สมบูรณ์ จะมีอาการที่พบเห็นทั่วไป คือ สุนัขมีอาการขาโก่ง หรือ ขณะเดินจะสังเกตว่าขาจะไม่มั่นคง จะปัดไปปัดมา ซึ่งสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงที่กำลังเจริญวัย กินอาหารครั้งละมากๆ กินแล้วก็นอน ฯลฯ และผลที่ตามมา ขาก็จะลีบเล็กลง โดยที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อย  จนทำให้ขาเสียในที่สุด
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ให้อาหาร สุนัข ไม่ต้องมากในแต่ละมื้อ โดยอาจจะเพิ่มจำนวนมื้อให้มากยิ่งขึ้น และให้เวลากับสุนัขของคุณ ในการพาเค้าออกไปวิ่งเล่นออกกำลังกายยามว่าง ที่สำคัญอาหารที่ให้ก็ควรมีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน ไม่ควรที่จะให้ ข้าวคลุกกับข้าว ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ควรจะให้สลับกับอาหารสำเร็จรูป สำหรับสุนัขบ้าง เพราะอาหารเหล่านั้นจะมีสารอาหารอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ กล่าวคือ ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ และก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ของร่างกายโดยแสดงออกทางผิวหนัง อาการที่พบคือ สุนัขจะมีอาการขนร่วง เช่น  ข้างลำตัว  รอบก้นและหาง  หน้าอก  ในสุนัขอายุมากมักพบรังแคกระจายทั่วร่างกาย  อาจพบผิวหนังมีเม็ดสีสะสม  มักพบเป็นสีดำ อาจมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ อ่อนเพลีย  ซึ่งโรคนี้มักพบในสุนัขอายุ  6-10  ปี แต่ถ้าเป็น สุนัข พันธุ์ใหญ่สามารถพบในอายุน้อยกว่า  6  ปีได้ ดังนั้น หากสุนัขของคุณมีอาการดังนี้  แนะนำให้พาสุนัขมาตรวจกับสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาจะดีที่สุด

โรคประสาทตาเสื่อม อาจเรียกได้ว่าเป็นโรคประจำของ สุนัข ลาบราดอร์ เนื่องจากพบอัตราการป่วยมากกว่าสายพันธุ์อื่น โดยอาการจอตาเสื่อมมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับบริเวณของจอตาที่มีปัญหา อาการที่สังเกตได้คือ สุนัข จะมองภาพได้ไม่ชัดเจนในที่มีแสงน้อย และเจ้าของจะรู้สึกว่าตาแวววาวผิดปกติ เนื่องจากม่านตาขยายเพื่อให้แสงผ่านไปได้มากขึ้น สุนัข อาจเห็นภาพได้แคบลง จึงต้องหันหัวมอง หรืออาจเดินชนสิ่งของ ส่วนใหญ่อาการนี้ไม่สามารถรักษาได้ แต่ไม่ใช่ทุกตัวที่เป็นจะต้องตาบอดอย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ต้องได้รับตรวจอย่างละเอียด

โรคต้อกระจก มักเกิดกับ สุนัข ที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยจะมองเห็นแก้วตามีลักษณะขุ่นขาว ซึ่งสุนัขยังพอมองเห็นได้ แต่ถ้าแก้วตาขุ่นเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้มองไม่เห็น เนื่องจากแสงไม่สามารถผ่านเข้าไปยังจอรับภาพได้ ทั้งนี้สาเหตุเป็นเพราะโรคเบาหวาน หรือได้รับบาดเจ็บ มีแผลที่ตา อย่างไรก็ตาม โรคต้อกระจกอาจจะพบได้ในสัตว์อายุน้อยตั้งแต่เกิดจนถึง 3 ปี เนื่องจากเป็นมาตั้งแต่เกิด สำหรับการรักษา ควรรีบพาสุนัขของคุณไปพบสัตวแพทย์ เพื่อรับการตรวจและรักษาทันที หากปล่อยทิ้งไว้นาน  จะทำให้การรักษายากขึ้น และอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอดได้

โรคลมบ้าหมู  จะทำให้ สุนัข ชักบ่อยๆ และควบคุมการทรงตัวไม่ได้ การแก้ไขเบื้องต้น ควรหาสถานที่ให้ สุนัข อยู่อย่างสงบในห้องที่มืดๆ จนกว่าอาการชักจะทุเลาลง ในระหว่างที่ สุนัข ชักอย่าได้เข้าไปจับตัวเด็ดขาด เพราะมันอาจหันมากัดได้  ทั้งนี้ ยารักษาโรคลมบ้าหมูอาจช่วยลดอาการชักให้น้อยลงได้ แต่ควรปรึกษาการใช้ยาจากสัตวแพทย์ สำหรับสาเหตุของโรคชักเกิดจากพยาธิในลำไส้เป็นตัวการสำคัญ


ขอขอบคุณรูปน้องหมาน่ารักๆ จาก
http://www.jintapomeranians.com/




0 ความคิดเห็น: