โรคภูมิแพ้ผิวหนัง

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
พบได้ประมาณ 10% ของสุนัขที่มีภาวะที่ร่างกายมีความโน้มเอียงทางพันธุกรรม ทำให้มีความไวสูงฉับพลันต่อสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ละอองเกสร ไร หรือ เชื้อรา แต่ยังคงยากต่อการวินิจฉัยโรค ซึ่งจะเกิดกับสัตว์เลี้ยงไปตลอดชีวิต มักพบอาการของโรคครั้งแรกในสุนัขระหว่าง อายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี พบผื่นแดง คัน ติดเชื้อในช่องหู อาจพบว่าการเกิดอาการ สัมพันธ์กับช่วงฤดูกาล สุนัขบางพันธุ์มีความเสี่ยงต่อภูมิแพ้ เช่น เวสต์ไฮแลนด์ไวท์ เทอร์เลีย ลาบราดอร์ โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ ปั๊ก พูเดิล ดัลเมเชี่ยล ถึงแม้ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้และการทำปฏิกิริยากับผิวหนัง การศึกษาผิวหนังสุนัขที่เป็นภูมิแพ้ พบผิวหนังขาดความแข็งแรงจากปริมาณชั้นไขมันระหว่างเซลล์ลดลง

ความอ้วนของน้องหมา

ความอ้วน
น้ำหนักตัวเกินของน้องหมาเป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อน้องหมาเพราะจะก่อให้เกิดโรคอื่นๆหลายโรคตามมาภายหลังได้ น้ำหนักส่วนเกินเกิดขึ้นได้เมื่อสัตว์เลี้ยงได้รับพลังงานมากกว่าพลังงานที่ใช้เกิดการสะสมในรูปไขมันทำให้มีการสะสมไขมันกระจายทั่วร่างกาย
สุนัขที่อ้วนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคดังต่อไปนี้

โรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

โรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower Urianry Tract Disorders)
ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เป็นกลุ่มอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยในสุนัขพันธุ์เล็ก เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะหรือท่อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งนิ่วเกิดจากการรวมกันของแร่ธาตุในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วชนิดสตรูไวท์ และอ๊อกชาแลต เป็นนิ่วที่พบได้บ่อยที่สุดในสุนัข ทำให้ปัสสาวะลำบาก และอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายย้อนกลับขึ้นไปที่ไตได้
สาเหตุของโรค
  •  ภาวะความเป็นกรด- ด่าง ของปัสสาวะ
  • การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • มีผลึก หรือก้อนนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ มักเกิดขึ้นในกระเพาะปัสสาวะซึ่งสามารถใช้โภชนบำบัดเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้
  • ความอ้วน อายุ
  •  เพศ ในสุนัขเพศผู้มีโอกาสเกิดนิ่วได้ง่ายกว่าเพศเมีย (ยกเว้นนิ่วชนิดสตรูไวท์)
  •  สายพันธุ์ สุนัขพันธุ์เล็ก เช่น มินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ พูดเดิ้ล ชิส์สุ และ ยอร์กเชีย เทอร์เรีย มีโอกาสเกิดนิ่วได้ง่าย ส่วนดัลเมเชี่ยนมักมีความเสี่ยงจะเกิดนิ่วชนิดยูเรตได้ง่าย เป็นต้น
  • ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบจากสาเหตุอื่น มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความเคลียด สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงรวมกันหลายตัว เป็นต้น
อาหาร
  • ปัสสาวะยาก เบ่ง ปัสสาวะกะปริบกระปรอย บางตัวอาจปัสสาวะเป็นเลือด
  • เลียอวัยวะขับถ่าย ปัสสาวะผิดที่ หยดนอกถาดปัสสาวะ
  • ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน
การรักษา
สัตวแพทย์อาจทำการวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น ตรวจปัสสาวะ เอ็กซเรย์ ส่งตรวจวิเคราะห์ชนิดของนิ่วในห้องปฏิบัติการ การรักษามักพิจารณาตามชนิดและขนาดของนิ่ว เช่น การผ่าตัด ส่วนท่อปัสสาวะ ให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาชนิดอื่นเพื่อรักษา ร่วมกับการเปลี่ยนอาหาร เป็นต้น
ความสำคัญของอาหารต่อโรคนิ่ว
อาหารมีส่วนสำคัญในการจัดการกับโรคนิ่ว และโรคระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อประกอบการรักษา และป้องกันการเกิดโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โรคไต kidney disease

หน้าที่หลักของไต ได้แก่
  • กรองของเสียออกจากเลือด และกำจัดออกทางปัสสาวะ
  • ควบคุมสมดุลขอบแร่ธาตุ เช่นโซเดียมฟอสฟอรัส แคลเซียม โพแทสเซียม เป็นต้น
  • ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนบางชนิดซึ่งช่วยควบคุมความดันเลือด และสร้างเม็ดเลือดแดง
โรคไตเป็นกลุ่มโรคที่เกิดความเสียหายของไต ทำให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกายได้ตามปกติ ของเสียจึงสะสมอยู่ในร่างกายสัตว์ร่างกายจะสูญเสียความสมดุลของกรด-ด่าง น้ำ และแร่ธาตุในกระแสเลือด ส่งผลกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมน ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจ และหลอดเลือดตามมาได้
คุณทราบหรือไม่
เมื่อมีความเสียหายที่ไต จะมีฟอสฟอรัสสะสมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น และอาจทำให้มีปัญหาฮอร์โมนตามมา ดังนั้นเมื่อสัตว์ป่วยด้วยโรคไตจึงควรให้อาหารที่มีฟอสฟอรัสต่ำ เพื่อช่วยลดหรือชะลอความรุนแรงของโรคไตในสุนัข
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต
  •       อายุ สนัขแก่มักมีความเสี่ยงมากกว่า ในสุนัขอายุเฉลี่ยประมาณ 6.6 ปี
  •       สายพันธุ์ บางสายพันธุ์มีความเสี่ยงสูง เช่น พันธุ์ชิห์สุ คอกเกอร์ สแปเนียล โดเบอร์แมน ลาซ่า แอปโซ่ เป็นต้น
  •       อาหาร อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงอาจมีแนวโน้มนำให้เกิดโรคไตได้
  •       ปัจจัยอื่นๆ เช่น ภาวการณ์ติดเชื้อ โรคนิ่ว สารพิษบางชนิด เช่น ฟีนอล สามารถโน้มนำให้เกิดโรคไตได้
อาการของโรคไต
      ส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการ จนกว่าไตจะเกิดความเสียหายมากกว่า 75 % ขึ้นไป โดยอาการอาจแตกต่างกัน แต่โดยมากการกินน้ำมากกว่าปกติมักจะสังเกตได้ก่อน หากพบอาการดังกล่าวควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วนเพื่อขอคำแนะนำ หรือวินิจฉัยเพิ่มเติม
อาการของโรคไตมีดังนี้
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เหนื่อยง่าย
  • ดื่มน้ำมาก ปัสสาวะมาก หรือไม่ปัสสาวะเลย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีกลิ่นปากแรง มีแผลในปากทำให้เจ็บปาก และกินอาหารน้อยลง
การรักษา
ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อรักการวินิจฉัย และหาสาเหตุการเกิดโรคเพื่อให้น้องหมาได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันเวลา
      สัตวแพทย์มักแนะนำให้เจาะเลือดเพื่อตรวจสุขภาพความเสียหายของไต และภาวะโลหิตจางที่มักเกิดตามมา นอกจากนี้ยังอาจตรวจปัสสาวะหรือทำการเอ็กซเรย์เพิ่มเติม เพื่อช่วยวินิจฉัย

ประเภทของสุนัข

ประเภทของสุนัข แบ่งได้ 6 กลุ่มใหญ่ๆ คือ สุนัขล่าเนื้อ, สุนัขเพื่อเกมส์กีฬา, สุนัขเทอร์เรีย, สุนัขทำงาน, สุนัขตุ๊กตา และ สุนัข อเนกประสงค์ ดังจะเขียนรายละเอียดแต่ละกลุ่มดังนี้
1. สุนัขล่าเนื้อ (Hounds) แค่ชื่อก็น่ากลัวแล้ว สุนัขล่าเนื้อ เป็นสุนัขกลุ่มแรกๆเลยที่มนุษย์เรานำมาใช้ประโยชน์โดยการล่าสัตว์ ใช้เป็นสุนัขช่วยในการล่าสัตว์  โดยสุนัขกลุ่มนี้จะมีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นที่ดีมาก และมีความแข็งแรงของร่างกายมาก   อาจแบ่งย่อย ได้อีก 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่มีสายตาดี สุนัขกลุ่มนี้จะมีความว่องไวเป็นเลิศ และมีสายตาที่ดีมากๆ จะมีรูปร่างโดยปกติทั่วไป จะมีรูปร่างที่สูง ช่วงขาจะยาว เช่น เกรย์ฮาว์น อัฟกัน และ สะลูกี้
กลุ่มที่มีประสาทการรับกลิ่นดีมากๆ ซึ่งมนุษย์เราไม่ต้องไปเทียบเลย ลักษณะรูปร่างของสุนัขกลุ่มนี้คือจะมีขาสั้นแต่มีความแข็งแรง หัวใหญ่ หูแผ่กว้างใหญ่ เช่น บัสเสทฮาว์น ดัชชุน
2. สุนัขเพื่อเกมส์กีฬา (Sporting Dogs) เป็นสุนัขพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากการล่าสัตว์มาเพื่อเกมส์กีฬา โดยแต่ก่อนนั้นสุนัขกลุ่มนี้จะมีหน้าที่คือ การค้นหาเหยื่อ และก็ นำเหยื่อที่ถูกยิงแล้วกลับมาให้เจ้าของ เราสามารถแบ่งสุนัขเพื่อเกมส์กีฬาได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
สเปเนี่ยน เป็นสุนัขที่มีรูปร่างขนาดกลางที่เฉลียวฉลาด จมูกรับกลิ่นได้ดีมาก มีลักษณะเด่น คือ หูจะยาว และตูบ แบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ พันธุ์ที่ใช้ล่าสัตว์ และพันธุ์ขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันนี้จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขที่เลี้ยงไว้ดูเล่น
พอยเตอร์ และเซทเตอร์ เป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าสเปเนี่ยน ขายาว หูตูบ และ จมูกรับกลิ่นได้ดีเยี่ยม ในการออกล่าสัตว์ เจ้าของจะให้สุนัขตามรอยเหยื่อ ออกไปได้ไกลกว่า
รีทรีพเวอร์ เป็นสุนัขที่มีเป็นมิตร มีความแข็งแรง มีโครงสร้างที่ดี และ มีความเชี่ยวชาญในการล่าสัตว์ โดยสิ่งที่สุนัขพันธุ์นี้มันถนัดคือ การค้นหา และ นำเหยื่อที่ถูกยิงกลับมาให้เจ้าของ เหมือนนักสืบเลยไหมล่ะ  โดยปกติแล้ว มันมักจะทำงานร่วมกับสุนัขพันธุ์สเปเนี่ยน ทำงานเป็นทีมแบบ บัดดี้เลย โดยให้สเปเนี่ยนเป็นผู้เริ่มต้นค้นหา ส่วนรีทรีพเวอร์คอยนำเหยื่อที่ถูกยิงแล้วกลับมาให้เจ้าของ นอกจากนี้ รีทรีพเวอร์ยังว่ายน้ำได้ ดี มันจึงมักถูกใช้ในการล่าสัตว์ปีกที่บินอยู่เหนือน้ำ เช่น ห่านป่า เป็นต้น

ประเภทสุนัข(ต่อ)

3. สุนัขเทอร์เรีย (Terriers) เป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก ถือกำเนิดในประเทศอังกฤษ มีนิสัยนิสัยที่ชอบอยากรู้อยากเห็น ชอบขุดคุ้ย ชอบดมกลิ่น และชอบตามรอย มันจึงถูกใช้เป็นผู้ช่วยในการล่าสัตว์ โดยเทอร์เรียจะทำหน้าที่ตามรอยสัตว์ป่า เช่น กระต่าย หนู หมาป่า แม้สุนัขพันธุ์เทอร์เรียจะเป็นสุนัขขนาดเล็ก ขาสั้น แต่มันกลับเคลื่อนไหวได้อย่างว่องไว มีชีวิตชีวา ผนวกกับนิสัยประจำตัวที่อดทน และกล้าหาญ ทำให้ มันถูกใช้เป็นสุนัขสงคราม บางยุคก็นำเทอร์เรียมาต่อสู้ในสนามแข่ง แต่ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเพื่อเป็นเพื่อนเล่นภายในบ้าน
   ประเภทของสุนัขเทอร์เรีย แยกย่อยได้อีกหลายพันธุ์ แต่เราอาจแบ่งเทอร์เรียเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของเส้นขน คือ
    1. พันธุ์ขนเรียบ และ สั้น เช่น ฟอกซ์ เทอร์เรียขนสั้น
   2. พันธุ์ขนหยาบ และ ยาว เช่น สก็อตทิช เทอร์เรีย และ เคอรี บลู เทอร์เรีย เป็นต้น     
พันธุ์ที่ได้รับความนิยม เช่น ฟ็อกซ์ เทอร์เรีย, บูล เทอร์เรีย, แบดลิงตัน และ แมนเชสเตอร์
4. สุนัขทำงาน (Working dogs)  ไม่ใช่มีแต่ วัว ควาย เท่านั้น ที่ใช้เป็นสัตว์ทำงานได้  สุนัขนี่แหล่ะก็ทำงานได้เหมือนกัน แต่ต้องเป็นสุนัขที่แข็งแรง ทนทาน มนุษย์เราก็ได้เลือกสรรมาใช้งาน เช่น
มนุษย์นำสุนัขมาใช้งาน เช่น เฝ้ายาม สำรวจหาระเบิด (ในสงคราม) ลากสัมภาระ ต้อนฝูงสัตว์ ตามรอยผู้ร้าย และ ช่วยเหลือผู้ ประสบภัย ปัจจุบันสุนัข ยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยตำรวจ นำทางคนตาบอด ตรวจค้นหายาเสพติด ก๊าซรั่ว ระเบิด และ ล่าสุดสุนัขนั้น็ยังถูกฝึกให้ช่วยเหลือคนหูหนวกได้อีกด้วย
ตัวอย่างของสุนัขตำรวจ ได้แก่ บ็อกเซอร์ โดเบอร์แมน พินซ์เช่อร์ รอทไวเลอร์ เยอรมันเชพเพิร์ด เกรดเดน
มนุษย์นำสุนัขมาเป็นผู้ช่วยในการทำงาน อย่างเช่นสุนัขขวัญใจชาวไร่ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของชาวไร่ อย่างเช่น Collie , Old English Sheepdog , German Shepherd , Shetland  Sheepdog และ Corgi โดยสุนัขพวกนี้ จะช่วยชาวไร่ในการเฝ้าฝูงปศุสัตว์ คอยต้อนสัตว์ ออกไปกินหญ้า และ กลับบ้าน เป็นต้น พวกมันช่วย ชาวไร่ทำงานได้ดีมาก จึงไม่น่าแปลกใจว่า เกือบทุกประเทศที่มีการเลี้ยงสัตว์ จะการพัฒนา สายพันธุ์สุนัขต้อนสัตว์ จนได้พันธุ์ประจำถิ่นของตนเอง เช่น Collie จากสก็อตแลนด์ Puli จากฮังการี และก็มี Corgi จากเวลส์ เป็นต้น
สุนัขจอมอึด มีสุนัขอีกพวกหนึ่งที่แข็งแกร่ง และ อดทนมาก จนสามารถทำงานหนักๆ แทนมนุษย์ได้ เช่น ในอังกฤษสุนัขถูกใช้ให้ส่งจดหมายระหว่างเมือง และก็ ลากเกวียน  บรรทุกของนอกจากนี้ ประเทศในเขตอากาศหนาวมากๆ ซึ่งการเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก ยังใช้สุนัข เช่น Alaskan Malamute, Siberian Husky และก็  Samoyed เพื่อเป็นพาหนะเดินทาง โดยสุนัขพวกนี้สามารถวิ่งได้ระยะทางถึง 160 กิโลเมตร ภายในเวลา 18 ชั่วโมง และสุนัข 4 ตัวที่ใช้เทียมล้อเลื่อนสามารถลากเลื่อนที่  หนักถึง 180 กิโลกรัมได้ระยะทาง 30 ไมล์ต่อวันทีเดียว
5. สุนัขตุ๊กตา (Toy) เป็นสุนัขตัวเล็กๆ ซึ่งถูกพัฒนามาจากตัวใหญ่นั่นแหล่ะ ถูกพัฒนาพันธุ์จนได้สุนัขตัวน้อยๆที่น่ารักน่าเอ็นดู สุนัขประเภทนี้เหมาะสำหรับ เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนอยู่ในบ้านเพื่อแก้เหงา ช่วยให้คนที่อยู่คนเดียวไม่เหงา และด้วยจากขนาดเล็กๆนี้เองจึงเป็นที่รักของเด็กๆด้วย
ประวัติของสุนัขไฮโซนี้หรือ สุนัขตุ๊กตาถือกำเนิดขึ้นมาตั้งหลายพันปีแล้ว โดยเมื่อ 4,000 ปีก่อน เราพบสุนัขสิงโต (Lion Dogs) ที่หน้าตาคล้ายๆ กับ สุนัขปักกิ่งในจีน สุนัขตุ๊กตาเป็นที่นิยมมากในกลุ่มผู้หญิง และเด็กๆ ในสังคมชั้นสูง เช่น ราชินีแมรี่ แห่งสก็อตแลนด์ ราชินีวิคตอเรีย พระ   นางมารี อังตัวเนต และ มาดามปอมปาดัว แห่งฝรั่งเศส หรือ แม้แต่จักรพรรดินีของ จีน และ ลามะแห่งธิเบต ก็ล้วนแล้วแต่มี สุนัขคู่ใจเป็นสุนัขตัวเล็กๆ นี้กันทั้งนั้น
        ถึงแม้ว่าจะตัวเล็ก น่ารัก ดูเหมือนไม่มีพิษภัย แต่เจ้าสุนัขตุ๊กตา ก็มีสัญชาติญาณของความเป็นหมา เฝ้าบ้านที่มันอยู่อาศัยได้ พร้อมที่จะปกป้องเจ้านาย โดยการเห่าหรือร้องหงิงๆ เมื่อมีผู้บุกรุก และอาจจะจู่โจมผู้บุกรุกเลยทีเดียว
6. สุนัข อเนกประสงค์ (Non Sporting) ชื่อก็บ่งบอกแล้วว่า สารพัดประโยชน์จริงๆ ตามแต่เจ้าของจะใช้งานสุนัขกลุ่มนี้ที่นิยมเลี้ยงกันและโด่งดังทะลุฟ้าเชียว เช่น สุนัขลายจุด (ดัลเมเชี่ยน) ขวัญใจเด็กๆ หนูๆ น้องๆ

สุนัขทั้ง 6 กลุ่มที่กล่าวมาทั้งหมด หลายๆท่านก็รู้แล้วสินะ ว่าน้องหมาของท่าน นั้นจัดอยู่ในกลุ่มไหน ถ้าไม่มีกลุ่มก็จัดไปอยู่กลุ่ม อเนกประสงค์ได้เลย แต่ไม่ว่าจะอยู่กลุ่มไหน ก็ไม่สำคัญ ปัจจุบันเราเลี้ยงสุนัขก็เพื่อเป็นเพื่อน เลี้ยงไว้ดูเล่น แก้เหงา เฝ้าบ้าน ซะส่วนใหญ่ ยังไงเขา(น้องหมา) ก็เป็นส่วนหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวเราเรียบร้อยแล้ว 

น้องหมาพันธุ์แจ็กรัสเซลล์ เทอร์รี่(Jack Russell Terrier)


ประวัติของน้องหมาพันธุ์แจ็กรัสเซลล์ เทอร์รี่(Jack Russell Terrier)

เจ้าสุนัขพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ โดยในปี ค.. 1800 ศาสตราจารย์แจ็กรัสเซลล์ (Jack Russell) ผู้ที่ชื่นชอบการไล่ล่าสุนัขจิ้งจอก เนื่องจากในตอนนั้นสุนัขพันธุ์แจ็กรัสเซลล์ เทอร์รี่ มีขนาดเฉลี่ยความสูงประมาณ 35 เซนติเมตร และศาสตราจารย์แจ็กรัสเซลล์ (Jack Russell) ต้องการได้สายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กจนต่อมาได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดเล็กจนเป็นผลสำเร็จ และในปัจจุบันนี้ มีสุนัขสายพันธุ์แจ็กรัสเซลล์ เทอร์รี่(Jack Russell Terrier) แยกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ พาร์สัน แจ๊ค รัสเซล เทอร์เรีย และ แจ๊ค รัสเซล เทอร์เรีย 

ลักษณะนิสัยของน้องหมาพันธุ์แจ็กรัสเซลล์ เทอร์รี่(Jack Russell Terrier)

เป็นสุนัขพันธุ์นักล่าอยู่แล้ว ขึ้นชื่อในการซื่อสัตย์เชื่อฟังคำสั่งของเจ้าของเป็นอย่างดี มีความฉลาดหลักแหลม ช่างสงสัย ซุกซนมากๆ เวลาเลี้ยงบริเวณบ้านควรมีรั้วรอบขอบชิดด้วย มีนิสัยที่เป็นมิตรเข้ากับสัตว์เลี้ยงอื่นๆได้ง่าย มีลักษณะขนอยู่ 3 ประเภทคือ ขนเรียบ ขนแตก และขนหยาบ โดยสุนัขพันธุ์นี้มีอายุอยู่ประมาณ 14 ปี

การดูแลน้องหมาพันธุ์แจ็กรัสเซลล์ เทอร์รี่(Jack Russell Terrier)

การอาบน้ำต้องดูพฤติกรรมของเจ้าน้องหมาของท่านด้วยว่ามีความซนมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ค่อยซนแค่อาบน้ำเดือนละครั้งก็คงเพียงพอ ไม่ควรอาบน้ำบ่อยจนเกินไปเพราะจะทำให้ผิวหนังแห้งเนื่องจากน้ำมันที่ให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติของน้องหมาถูกชำระล้างออกไป ไม่ควรใช้แชมพูหรือสบู่ที่คนใช้เพราะไม่เหมาะกับสภาพผิดหนังของเจ้าน้องหมา ควรแปลงขนบ่อยๆ กำจัดขนที่หลุดร่วง ประมาณสัปดาห์ละครั้ง

ขอขอบคุณรูปสวยๆจาก

น้องหมาพันธุ์ยอร์คเชียร์ เทอร์เรียร์(Yorkshire Terrier)




ประวัติความเป็นมาของน้องหมาพันธุ์ยอร์คเชียร์ เทอร์เรียร์(Yorkshire Terrier)

เป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ โดยในช่วงปี ค..1900 ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์เทอร์เรียร์ที่แตกต่างกัน โดยจากตอนกลางถึงตอนเหนือของประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะในเมืองยอร์คเชียร์ จนเป็นที่มาของชื่อสุนัขสายพันธุ์ ยอร์คเชียร์ เทอร์เรียร์(Yorkshire Terrier) ในช่วงแรกๆการเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ก็เพื่อกำจัดหนูในไร่นา โดยในช่วงนั้นสุนัขมีน้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม แต่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดเล็กลง จนกระทั่งในปัจจุบันนี้มีขนาดประมาณ  1-5.4 กิโลกรัมเท่านั้น และไม่มีใครเลี้ยงสุนัขพันธุ์ยอร์คเชียร์ เทอร์เรียร์(Yorkshire Terrier) เพื่อกำจัดหนูอีกต่อไป มีแต่เลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงในครอบครัว  และประกวดแข่งขันความฉลาด ความสวยงามกันเท่านั้น

ลักษณะทั่วไปของน้องหมาพันธุ์ยอร์คเชียร์ เทอร์เรียร์(Yorkshire Terrier)

มีลักษณะรูปร่างที่สมส่วน มีขนที่ยาว เรียบ เงางาม มีขนที่จมูกและปากยาว สีขนเป็นสีเงินออกน้ำเงินและสีทอง

ลักษณะนิสัยทั่วไปของน้องหมาพันธุ์ยอร์คเชียร์ เทอร์เรียร์(Yorkshire Terrier)

มีความร่างเริง กระฉับกระเฉง มีความกล้าเป็นชีวิตจิตใจ เหมาะกับการเฝ้าบ้านที่ดี มีความสามารถในการได้ยินในระยะไกล มีความรักและซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ในช่วงวัยเด็กของน้องหมาจะมีนิสัยซนมากด้วย แต่พอโตขึ้นความซนก็จะหายไปเอง  เป็นสุนัขที่ดูจะเชิดหยิ่ง มั่นใจตนเองสูง ไม่ค่อยชอบเห่าพร่ำเพรื่อ แต่เมื่อเจอคนแปลกน่าจะเห่าเพื่อเตือนเจ้าของ

ขอขอบคุณสำหรับรูปสวยๆของน้องหมาจาก
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kitpooh22&month=10-10-2012&group=29&gblog=16

น้องหมาพันธุ์เฟรนช์ บลูด็อก (french bulldog)



ประวัติความเป็นมาของน้องหมาพันธุ์เฟรนช์ บลูด็อก (french bulldog


ประวัติความเป็นมาของเจ้าสุนัขพันธุ์เฟรนช์ บลูด็อก (french bulldog) ชื่อก็บอกเป็นนัยแล้วว่า เกี่ยวกับฝรั่งเศส เมื่อก่อนนิยมเลี้ยงกันมากในประเทศฝรั่งเศส  สุนัขพันธุ์นี้สายพันธุ์ดั้งเดิม คือ บลูด็อก (bulldog) เป็นสุนัขที่มีเลี้ยงกันในประเทศอังกฤษแต่ยังไม่เป็นที่นิยมกัน
ปี ค.ศ.1860 ได้มีการนำสุนัขพันธุ์ บลูด็อก (Bulldog) ของประเทศอังกฤษ มาผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์เฟรนช์ เทอร์เรียร์ ของประเทศฝรั่งเศส และได้ตั้งชื่อสุนัขสายพันธุ์ที่เกิดใหม่นี้ว่า "เฟรนช์ บูลด็อก" (French Bulldog) สรุป ก็คือ สุนัขพันธุ์ "เฟรนช์ บูลด็อก" (French Bulldog) เป็นสายพันธุ์ผสม (ลูกครึ่ง) ระหว่าง พันธุ์บลูด็อก (Bulldog) กับ "เฟรนช์ บูลด็อก" (French Bulldog) นั่นเอง

ลักษณะทั่วไปของน้องหมาพันธุ์เฟรนช์ บลูด็อก (french bulldog)

ลักษณะลำตัวมีลักษณะสั้น กลม เส้นหลังโค้ง บริเวณหัวไหล่ค่อนข้างกว้าง เอวเล็ก หัวมีขนาดที่ใหญ่ หน้าผากมีลักษณะโค้งเล็กน้อย แก้มมีลักษณะที่เป็นจุดเด่นคือมีกล้ามเนื้อที่ชัดเจน ดวงตากลม สีเข้ม จมูกสั้น รูจมูกกว้าง ปากกว้างและลึก มุมปากมีเหนียงค่อนข้างหนา กรามแข็งแรง ขาสั้น ขนสั้น นุ่ม หนาแน่น ความ
มีความสูงประมาณ 10-12 นิ้ว น้ำหนังประมาณ 11-13กก.  อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 12 ปี

 ลักษณะนิสัยของน้องหมาพันธุ์เฟรนช์ บลูด็อก (french bulldog)

มีนิสัยร่าเริง ขี้เล่น ฉลาด กล้าหาญ ชอบออกกำลังกาย แพ้อากาศร้อน และมีความตื่นตัวอยู่เสมอๆ มีลักษณะท่าทางที่เป็นมิตร เป็นน้องหมาอีกพันธุ์หนึ่งที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียง คือไม่ค่อยเห่าเท่าไรนัก

การดูแลน้องหมาพันธุ์เฟรนช์ บลูด็อก (french bulldog)

เป็นน้องหมาที่มีขนสั้น จึงดูแลไม่ยาก อาบน้ำตามสมควร พาออกกำลังกาย พาไปวิ่งเล่นบ้าง หรือไม่ก็หาของเล่นให้เล่น เล่นลูกบอล เป็นต้น เจ้าน้องหมานี้จะมีการผลัดขนในช่วงฤดูร้อน และในช่วงฤดูร้อนนี้น้องหมาอาจจะมีอาการเคลียดด้วยเพราะนิสัยแล้วไม่ชอบอากาศร้อน (ก็เขามาจากฝรั่งเศสนิ อากาสหนาวที่ไหน)


ขอขอบคุณรูปน้องหมาน่ารักๆ จาก


น้องหมาพันธุ์ปักกิ่ง




ประวัติน้องหมาพันธุ์ปักกิ่ง น้องหมาพันธุ์นี้ผมดูแล้วหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับพันธุ์ชิสุเลย ตามประวัติ สุนัขพันธุ์ปักกิ่ง ไม่มีข้อมูลระบุแน่ชัดว่า สุนัขพันธุ์นี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด แต่แค่ชื่อพันธุ์ก็น่าพอจะเดาได้ว่า น่าจะมาจากประเทศจีน ก็มีเรื่องราวของน้องหมาพันธุ์ปักกิ่ง มีหลักฐานพอสมควรว่ามีสุนัขพันธุ์ปักกิ่งอยู่ในราชสำนัก สมัยราชวงศ์ถัง หรือราวศตวรรษที่ 8 โดยมีเรื่องเล่าว่า ในอดีต สุนัขพันธุ์ปักกิ่ง ถือเป็นสุนัขต้องห้าม ที่ต้องห้ามก็คือ ห้ามผู้ใดเลี้ยง นอกจากในเฉพาะราชสำนักเท่านั้น เป็นไงล่ะ! น้องหมาพันธุ์นี้ใช่ย่อย  น้องหมาพันธุ์นี้จะได้รับการปกป้องคุ้มครองเป็นอย่างดีและในเรื่องการสืบสายพันธุ์นั้นต้องให้เป็นสายพันธุ์เดิม สายพันธุ์บริสุทธิ์โดยจะไม่มีให้การผสมข้ามสายพันธุ์เด็ดขาด ถ้ารู้ว่ามีใครคิดผสมข้ามสายพันธุ์ในสมัยนั้นมีโทษถึงประหารเชียวนะ!  และเล่ากันว่าถ้าเป็นสุนัขประจำตัวกษัตริย์  หากกษัตริย์สิ้นพระชนม์ในขณะที่มันมีชีวิตอยู่ จะต้องถูกฝังไปพร้อมกับพระศพ เพราะเชื่อกันว่าเป็นสุนัขที่ศักดิ์สิทธ์จะต้องตามไปปกป้องกษัตริย์หลังความตาย
ใน ค.ศ.1860 อังกฤษชนะสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 และเข้ายึดวังจักรพรรดิที่กรุงปักกิ่ง ราชสำนักจีนได้สั่งฆ่าสุนัขพันธุ์ปักกิ่งทุกตัวที่อยู่ในวัง เพราะไม่อยากให้สุนัขที่เชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ศักดิ์ตกไปอยู่ในมือคนต่างชาติแต่อย่างไรก็ตาม ก็มีสุนัข 5 ตัว ที่ไม่โดนฆ่า เชื่อกันว่าเป็นสุนัขของซูสีไทเฮา และสุนัขทั้งห้าตัวที่แสนสวยและเป็นที่โปรดปรานของซูสีไทเฮา ก็ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษ และก็ได้ขยายพันธุ์ต่อมาจนถึงปัจจุบัน   

ลักษณะทั่วไปของน้องหมาพันธุ์ปักกิ่ง

น้องหมาพันธุ์นี้มีขนาดเล็ก พอๆกับพันธุ์ชิสุ มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 10-14 ปอนด์ ลำตัวสั้น หน้าใหญ่ ลำตัวส่วนหลังเล็ก ขนช่วงแผงคอยาวคล้ายสิงโต มีกล้ามเนื้อที่หนา กระดูกหน้า แข็งแรง มีหน้าสั้น แบน จมูกทู่ๆ ดั้งหัก (เหมือนชิสุเลย) ดวงตากลมโต มีลักษณะนิสัยที่เย่อหยิ่ง ดื้อรั้น รักความสนุกสนาน เป็นมิตร รักอิสระมีชิวิตเฉลี่ย ประมาณ 14-17 ปี

การดูแลน้องหมาพันธุ์ปักกิ่ง

ควรอาบน้ำให้น้องหมาสัปดาห์ละครั้ง เนื่องจากน้องหมามีขนที่หนา จึงต้องแปรงขนและทำความสะอาดบ่อยๆขนจะได้ไม่พันกัน ควรตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ ควรจูงน้องหมาเดินเล่นบ้างเพื่อให้น้องหมาได้ออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงของน้องหมาเอง
ส่วนโรคที่เกี่ยวกับน้องหมาทางผู้เขียนจะเขียนไว้ต่างหาก โดยผู้อ่านเข้าดูได้อีกเว็บเพจหนึ่งที่ชื่อ โรคและการดูแล

ขอขอบคุณรูปภาพน้องหมาพันธุ์ปักกิ่งน่ารักๆ จาก

    

น้องหมาพันธุ์บีเกิ้ล



ประวัติบีเกิ้ล ( Beagle)

บีเกิ้ล ( Beagle) เป็นสายพันธุ์สุนัขอยู่ในจำพวกกลุ่มสุนัขล่าเนื้อ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ เป็นสุนัขที่มีประสาทด้านการดมกลิ่นเป็นเลิศ (scent hounds) ความสามารถในการดมกลิ่นนี้เองที่ทำให้สุนัขพันบีเกิล จัดอยู่ในสุนัขล่าเนื้อ มีจุดประสงค์ในการเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้คือเพื่อเป็นผู้ช่วยมนุษย์ ในกีฬาการล่าต่างๆ โดยเฉพาะการล่ากระต่าย ด้วยประสาทด้านการดมกลิ่นที่ไวมาก จึงได้มีการฝึกให้เป็นสุนัขตรวจสอบของผิดกฎหมาย อย่างเช่น ยาเสพติด วัตถุระเบิด ฯลฯ แต่บีเกิ้ลยังได้รับความนิยมในฐานะสัตว์เลี้ยงเช่นกัน ด้วยขนาดตัวที่พอเหมาะ เป็นสุนัขอารมณ์ดี และสุขภาพแข็งแรงทนทานต่อโรค ด้วยคุณสมบัตินี้เอง บีเกิ้ลยังถูกใช้ในงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์อีกด้วย

ลักษณะทั่วไป

           น้องหมาบีเกิ้ล มีน้ำหนักตัว ประมาณ 18-30 ปอนด์ ส่วนสูงประมาณ 13-15 นิ้ว น้องหมาพันธุ์บีเกิ้ลมีลักษณะมีขนสั้นและหูปรก มีนิสัยเป็นมิตร ขี้ประจบ เห่าหอนบ้าง เมื่อเจอคนแปลกหน้า ไม่ดุร้าย ชอบอยู่กันเป็นกลุ่มๆ เป็นน้องหมาที่เชื่องถ้าจะเลี้ยงเพื่อเฝ้าบ้านคงไม่เหมาะกันนัก แต่ถ้าเลี้ยงเพื่อแก้เหงา เล่น และดูความน่ารักของน้องหมา รับรองพันธุ์นี้เป็นน้องหมาที่น่ารักอีกพันธุ์หนึ่งเลยทีเดียว
บีเกิ้ลเป็นสุนัขที่เหมาะกับเด็กๆ จึงเป็นสุนัขที่นิยมเลี้ยงกันในครัวเรือน แต่ว่าพวกมันเป็นสุนัขที่อยู่เป็นฝูง เวลานำไปเลี้ยงจึงอาจเกิดอาการซึมเศร้าได้ ไม่ใช่บีเกิ้ลทุกตัวที่จะหอน แต่ส่วนมากจะเห่าเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งบางตัวจะเห่าหรือหอน เมื่อรับรู้ถึงกลิ่นใดกลิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ บีเกิ้ลยังเข้ากับสุนัขสายพันธุ์อื่นได้ง่าย พวกมันแข็งแรงมาก จึงวิ่งเล่นได้นานโดยที่ไม่เหนื่อยง่ายๆ

โรคภัยของน้องหมาบีเกิ้ล

โรคทางพันธุกรรม

1.    Cherry eye

เกิดจารการอักเสบทำให้เปลือกตาที่สามขยายใหญ่ขึ้นและยื่นออกมา น้องหมาจะไม่ค่อยรู้สึกรำคาญมากนัก แต่สำหรับผู้พบเห็นน้องหมาแล้ว อาจจะดูน่าเกลียด ไม่น่ารัก การรักษาอาจต้องใช้การผ่าตัด

2.   Keratoconjunctivitis Sicca โรคตาแห้ง

โรคนี้ถือได้ว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงเพราะถ้าเจ้าของน้องหมาไม่ใส่ใจและดูแล ปล่อยปละละเลย อาจทำให้น้องหมาตาบอดได้ และโรคนี้เป็นโรคที่ทำให้น้องหมามีความเจ็บปวดอย่างมากด้วย ผู้ที่เลี้ยงน้องหมาควรใส่ใจให้มากๆนะครับ ส่วนสาเหตุของโรคตาแห้ง เกิดจากต่อมผลิตน้ำตาทำงานบกพร่องทำให้การผลิตน้ำหล่อเลี้ยงตาไม่เพียงพอ

3.  Glaucoma  ต้อหิน

โรคต้องหินเกิดจากที่ของเหลวในลูกตาไม่สามารถไหลเวียนกลับเข้ากระแสเลือดได้ตามปกติ จึงทำให้เกิดแรงดันในลูกตามากขึ้นและทำเป็นอันตรายต่อประสาทตา และโรคต้อหินนี้เป็นอีกโรคหนึ่งที่จะทำให้น้องหมาตาบอดได้ ดังนั้นเราควรใส่ใจเป็นพิเศษ
        โรคทางพันธุกรรมของน้องหมาพันธุ์บิเกิ้ล ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับดวงตา เพราะฉนั้นผู้ที่เลี้ยงน้องหมาพันธุ์บีเกิ้ล จึงต้องใส่ใจ และดูแล เรื่องดวงตาของน้องหมาให้เป็นพิเศษ    นอกจากโรคทางพันธุกรรมแล้วก็ยังมีโรคอื่นๆอีกที่น้องหมาอาจจะสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นได้ เช่นโรคไต โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และอื่นๆอีกมากมาย วันหลังถ้าเขียนเกี่ยวกับน้องหมาแต่ละพันธุ์เสร็จแล้ว จะนำโรคต่างๆที่น้องหมาอาจจะเป็น และ อาการของโรค โดยรวมมาลงไว้นะครับ

ขอขอบคุณรูปน้องหมาน่ารักๆ จาก        http://dode-dog.blogspot.com/2010/10/beagle.html

เว็บไซต์ดีๆ สำหรับคนรักหมา

น้องหมาพันธุ์ชิวาวา





ประวัติ น้องหมาพันธุ์ ชิวาวา ประวัติความเป็นมาของน้องหมาชิวาวา หรือ หมากระเป๋าที่เราชอบเรียกกัน มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก โดยชาวเม็กซิโกให้ตั้งชื่อน้องหมาพันธุ์ชิวาวานี้ว่า Techichi มีหลักฐานคือรูปแกะสลักสุนัขบนหินเป็นรูปของสุนัขที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชิวาวาในปัจจุบัน     รูปแกะสลักนี้ปัจจุบันอยู่ที่  monastery of Auejotzingo      ตั้งอยู่ในประเทศแม็กซิโก
        ถึงแม้ว่าถิ่นกำเนินเจ้าน้องหมาชิวาวาในอดีตคือประเทศเม็กซิโกแต่ในปัจจุบันนี้น้องหมาพันธุ์ชิวาวาเป็นที่นิยมในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชาวอเมริกันพัฒนาสายพันธุ์ชิวาวา ย่อให้มีขนาดเล็กลง แต่ยังคงรูปร่าง รวมทั้งลักษณะนิสัยเดิมไว้ โดยทั่วไปชาวอเมริกันนิยมเลี้ยงชิวาวาขนสั้นมากกว่าชิวาวาขนยาว

ลักษณะทั่วไป

น้องหมาชิวาวาเป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่มีความฉลาด มีความรักในเจ้าของ คล่องแคล่ว ว่องไว มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีตาโตนัยน์ตามีสีดำสนิท ลักษณะนิสัยที่เด่นชัดคือ เป็นน้องหมาที่สงบเงียบ ไม่ชอบเห่า ยกเว้นกรณีที่ถูกรบกวน หรือทำให้ตกใจ ขนาดของน้องหมาพันธุ์นี้คือ ความสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.5-2.7 กิโลกรัม และเจ้าน้องหมาพันธุ์ชิวาวานี้มีทั้งขนสั้นและยาว แล้วแต่ใครจะชอบเลี้ยงแบบไหนนะครับ พันธุ์ขนยาวเพิ่งจะได้รับการพัฒนามาทีหลัง ดั้งเดิมนั้นเป็นขนสั้นครับ

โรคภัยของน้องหมาชิวาวา

โรคลำไส้อักเสบ

เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ถ้าน้องหมาได้รับเชื้อไวรัสนี้แล้ว อาการก็คือ ซึมเศร้า หงอยเหงา อาเจียน ท้องเสียอย่างรุนแรง อุจจาระเหลว เป็นสีเหลืองหรือเทา หรือบางทีก็ถ่ายปนเลือด มีกลิ่นคาวจัด มีน้ำหนักตัวลดลง ความรุนแรงของโรคลำไส้อักเสบนี้ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของน้องหมาด้วย ถ้ามีอาการอย่างนี้แล้ว พาไปหาสัตวแพทย์เลยดีกว่าครับ

สภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

มักพบในน้องหมาอายุประมาณ 2-3 เดือน มีอาการเดินเซไปเซมา ไม่มีเรี่ยวแรง ตาค้าง ตัวอ่อน ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดอาการชัก และ อาจตายได้ ถ้ามีอาการแบบนี้ ต้องพบสัตวแพทย์ หาทางเยียวยาทันที ปกติสภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนี้ เมื่อน้องหมาโตขึ้นก็จะไม่เป็นครับ

สภาวะสมองบวมน้ำ

มีน้องหมาบางตัวหัวโตผิดปกติ ก็มาจากสภาวะสมองบวมน้ำนี่แหล่ะครับ เป็นการผิดปกติของยีนส์ ยังไงก็รีบปรึกษาสัตวแพทย์เลยครับ

โรค เชอร์รี่อาย

โรคนี้พบมากในชิวาวา บีเกิ้ล  และบาสเซ็ต ฮาวน์ ลักษณะของโรคนี้คือ การที่ต่อมน้ำตาที่อยู่ใต้หนังตาชั้นที่สามของสุนัข เกิดการขยายใหญ่ขึ้น และโผล่ยื่นมาจากดวงตาของน้องหมา สังเกตุได้จากจะมีก้อนเนื้อสีแดงอยู่บริเวณหัวตาของน้องหมาอาจจะทั้งสองข้าง มีน้ำตาไหล มีขี้ตาเยอะ อย่างปล่อยทิ้งไว้ ให้พาน้องหมาของท่านไปพบสัตวแพทย์ อาจจะให้ยากิน หรือ ทำการผ่าตัด อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอาการและคำสั่งของสัตวแพทย์นั้นๆด้วย
โรคอื่นๆ เช่น  โรคไต โรคผิดหนัง ฯลฯ ไม่ว่าน้องหมาของท่านจะมีอาการอย่างไร ถ้ามีอาการที่ผิดปกติ ก็ควรรีบพาไปหาสัตวแพทย์ หรือไม่ก็หาสาเหตุ ดูอาการเบื้องต้น ว่าอาการแบบนี้ เกิดขึ้นจากอะไร และน้องหมาของท่านเป็นโรคอะไรกันแน่ แต่ที่สำคัญน้องหมา ก็เหมือนคนนะครับ ให้เขาออกกำลังกายบ้าง พาออกไปวิ่งเล่น ร่างกายจะได้แข็งแรง ไม่เป็นโรคนะครับ

เว็บไซต์อื่นๆที่เกี่ยวกับน้องหมา ที่อาจให้ข้อมูลท่านได้
http://www.chihuahua.in.th
http://www.dogilike.com
และขอบขอบคุณสำหรับรูปน้องหมาพันธุ์ชิวาวา จาก
http://pirun.ku.ac.th/~b5003087/dog1.html

น้องหมาพันธุ์ปั๊ก


ประวัติปั๊ก

สุนัขพันธุ์ปั๊กเป็นสุนัขที่เก่าแก่สายพันธุ์หนึ่ง มีกำเนิดมาจากประเทศจีนมาตั้งแต่ 400 ปี ก่อนคริสตกาล ในสมัยโบราณนิยมเลี้ยงไว้ในวัดจีน ต่อมาเริ่มมีการนำออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ก่อนจะเริ่มแพร่หลายไปยังหลาย ๆ ประเทศในแถบทวีปยุโรป
          ในประเทศฮอลแลนด์ สุนัขสายพันธุ์ปั๊กได้รับการยอมรับ และให้เกียรติเป็นอย่างมากเนื่องจากในอดีตมีสุนัขพันธุ์นี้ตัวหนึ่ง เคยช่วยชีวิตของเจ้าชายวิลเลียม โดยการเตือนให้พระองค์ทรงทราบว่าทหารของกองทัพของสเปนได้แอบลอบเข้ามาใกล้แล้วนั่นเอง
          ส่วนในประเทศฝรั่งในปี ค.ศ.1790 พระมเหสีของนโปเลียน ผู้นำประเทศฝรั่งเศสในยุคนั้นได้ซ่อนจดหมายไว้ที่ปลอกคอของปั๊ก  แล้วให้มันนำไปแจ้งข่าวสารต่อนโปเลียน เพื่อบอกกับนโปเลียนว่าพระนางถูกจับขังไวที่ Les Carmes
          จากวีรกรรมทั้งหลายทั้งมวลเหล่านี้เอง ทำให้สุนัขพันธุ์นี้เริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ก่อนจะถูกพัฒนาสายพันธุ์จนกลายเป็นรูปแบบของปั๊กที่สมบูรณ์แบบในประเทศอังกฤษ ต่อมา ปั๊ก เริ่มเป็นที่นิยมในประเทศอังกฤษมากขึ้น แต่จากจำนวนของสุนัขในกลุ่มทอยอื่น ๆ ที่ทวีจำนวนขึ้น ทำให้ความนิยมในตัวปั๊ก เริ่มลดลงตามลำดับ จนเกือบจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นเองพระเจ้าจอร์จที่ 3 ได้ทรงนำเข้าปั๊กจากประเทศฮอลแลนด์และออสเตรีย ทำให้เขาสามารถช่วยดำรงสายพันธุ์ปั๊กไว้ในประเทศอังกฤษมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะทั่วไปของปั๊ก

เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มีร่างกายเล็กปานกลาง มีหน้าสั้นและย่น ใบหูพับตก และมีขนสั้นเกรียน หางมีลักษณะ บิดเป็นเกลียวชี้ขึ้นม้วนจนเป็นวงติดกับบั้นเอว ถ้าหากหางม้วนได้ถึงสองตลบก็จัดว่าเป็นลักษณะที่สวยสมบูรณ์ทีสุด หายใจและกรนเสียงดัง

ลักษณะนิสัย

ธรรมชาติของ หมาปั๊ก จะเป็นสุนัขที่มีลักษณะเป็นมิตร ปราดเปรียว ว่องไว อารมณ์ดี อยากรู้อยากเห็น ชอบเข้าสังคม มีความนุ่มนวล แต่บางครั้งอาจมีความตื่นตัวและมีพละกำลังในการเล่นมาก ไม่ชอบทะเลาะเบาะแว้งกับสุนัขตัวอื่น ๆ มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ชอบพบปะทักทายกับคน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือคนแปลกหน้า มีความฉลาดในระดับปานกลาง
 แม้จะเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่ชอบเข้าสังคม แต่ปั๊กก็เป็นสุนัขที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ดื้อรั้น แต่เข้มแข็ง มันมีนิสัยชอบเอาชนะ และเด็ดเดี่ยวมากพอตัวทีเดียว

การดูแล

โดยส่วนมากสุนัขพันธุ์นี้จะขี้เกียจ หากปล่อยให้อยู่ตามลำพังหรือไม่มีอุปกรณ์ฝึกเขา จึงควรพาเขาไปเดินเล่นหรือเล่นเกมโยนของไปให้เขาเก็บทุกวัน แต่อย่าให้เขาออกกำลังกายหนัก ๆ ในช่วงที่มีอากาศร้อน หรือหลังกินอาหารเสร็จ
          แม้สุนัขพันธุ์นี้จะไม่ต้องการการดุแลเสริมสวยให้ยุ่งยากมากนัก แต่ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษาความสะอาดทุกวัน อีกทั้งการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของการออกกำลังกาย ก็เป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้ปัก๊กจะไม่ใช่สุนัขที่รักกีฬา แต่การพาเขาไปออกกำลังกายให้พอเพียง ก็จะช่วยให้เขาไม่อ้วนและกลายเป็นสุนัขที่เฉื่อยชาจนเกินไป
 เนื่องจากรูปทรงของตาและใบหน้าทำให้สุนัขสายพันธุ์นี้มีแนวโน้มที่จะเกิดการบาดเจ็บที่ตาได้ง่าย ถ้าปั๊กของคุณกำลังถูตาอยู่ กระพริบตาถี่ ๆ มีน้ำตาไหลมากเกิน หรือตามีการเปลี่ยนสีไป ควรปรึกษาสัตวแพทย์ของคุณโดยทันที และการที่เป็นสุนัขจมูกสั้น เขาจึงมักมีปัญหาเกี่ยวกับเพดานปากอ่อน จึงจำเป็นต้องตรวจสอบอยู่เสมอ
          นอกจากนี้ ปั๊กยังมีความเสี่ยงที่จะอ้วนได้ง่าย ดังนั้น การควบคุมปริมาณอาหารและการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งจำเป็น โครงสร้างกะโหลกศีรษะที่สั้น ส่งผลให้ปั๊ก มักมีปัญหาระบบทางเดินหายใจส่วนต้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือภายหลังการออกกำลังกายอย่างหนัก จึงควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มากเกินไป และการเลี้ยงดูในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง

โรคภัยของน้องหมา

 ความผิดปกติต่าง ๆ ของนัยน์ตา เช่น หนังตาม้วน โรคตาแห้ง กระจกตาอักเสบ แผลหลุมบริเวณกระจกตา
          ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ กลุ่มอาการผิดปกติของท่อทางเดินหายใจส่วนต้น ในสุนัขสายพันธุ์ที่มีใบหน้าสั้น
          ระบบทางเดินสืบพันธุ์ ได้แก่ ภาวะคลอดยาก เนื่องจากขนาดหัว และช่วงไหล่ของลูกสุนัขมีขนาดใหญ่นั่นเอง


ขอขอบคุณสำหรับรูปน้องหมาพันธุ์ปั๊กน่ารักๆ จาก 
http://petastute.blogspot.com/2010_11_01_archive.html