น้องหมาพันธุ์ปักกิ่ง




ประวัติน้องหมาพันธุ์ปักกิ่ง น้องหมาพันธุ์นี้ผมดูแล้วหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับพันธุ์ชิสุเลย ตามประวัติ สุนัขพันธุ์ปักกิ่ง ไม่มีข้อมูลระบุแน่ชัดว่า สุนัขพันธุ์นี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด แต่แค่ชื่อพันธุ์ก็น่าพอจะเดาได้ว่า น่าจะมาจากประเทศจีน ก็มีเรื่องราวของน้องหมาพันธุ์ปักกิ่ง มีหลักฐานพอสมควรว่ามีสุนัขพันธุ์ปักกิ่งอยู่ในราชสำนัก สมัยราชวงศ์ถัง หรือราวศตวรรษที่ 8 โดยมีเรื่องเล่าว่า ในอดีต สุนัขพันธุ์ปักกิ่ง ถือเป็นสุนัขต้องห้าม ที่ต้องห้ามก็คือ ห้ามผู้ใดเลี้ยง นอกจากในเฉพาะราชสำนักเท่านั้น เป็นไงล่ะ! น้องหมาพันธุ์นี้ใช่ย่อย  น้องหมาพันธุ์นี้จะได้รับการปกป้องคุ้มครองเป็นอย่างดีและในเรื่องการสืบสายพันธุ์นั้นต้องให้เป็นสายพันธุ์เดิม สายพันธุ์บริสุทธิ์โดยจะไม่มีให้การผสมข้ามสายพันธุ์เด็ดขาด ถ้ารู้ว่ามีใครคิดผสมข้ามสายพันธุ์ในสมัยนั้นมีโทษถึงประหารเชียวนะ!  และเล่ากันว่าถ้าเป็นสุนัขประจำตัวกษัตริย์  หากกษัตริย์สิ้นพระชนม์ในขณะที่มันมีชีวิตอยู่ จะต้องถูกฝังไปพร้อมกับพระศพ เพราะเชื่อกันว่าเป็นสุนัขที่ศักดิ์สิทธ์จะต้องตามไปปกป้องกษัตริย์หลังความตาย
ใน ค.ศ.1860 อังกฤษชนะสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 และเข้ายึดวังจักรพรรดิที่กรุงปักกิ่ง ราชสำนักจีนได้สั่งฆ่าสุนัขพันธุ์ปักกิ่งทุกตัวที่อยู่ในวัง เพราะไม่อยากให้สุนัขที่เชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ศักดิ์ตกไปอยู่ในมือคนต่างชาติแต่อย่างไรก็ตาม ก็มีสุนัข 5 ตัว ที่ไม่โดนฆ่า เชื่อกันว่าเป็นสุนัขของซูสีไทเฮา และสุนัขทั้งห้าตัวที่แสนสวยและเป็นที่โปรดปรานของซูสีไทเฮา ก็ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษ และก็ได้ขยายพันธุ์ต่อมาจนถึงปัจจุบัน   

ลักษณะทั่วไปของน้องหมาพันธุ์ปักกิ่ง

น้องหมาพันธุ์นี้มีขนาดเล็ก พอๆกับพันธุ์ชิสุ มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 10-14 ปอนด์ ลำตัวสั้น หน้าใหญ่ ลำตัวส่วนหลังเล็ก ขนช่วงแผงคอยาวคล้ายสิงโต มีกล้ามเนื้อที่หนา กระดูกหน้า แข็งแรง มีหน้าสั้น แบน จมูกทู่ๆ ดั้งหัก (เหมือนชิสุเลย) ดวงตากลมโต มีลักษณะนิสัยที่เย่อหยิ่ง ดื้อรั้น รักความสนุกสนาน เป็นมิตร รักอิสระมีชิวิตเฉลี่ย ประมาณ 14-17 ปี

การดูแลน้องหมาพันธุ์ปักกิ่ง

ควรอาบน้ำให้น้องหมาสัปดาห์ละครั้ง เนื่องจากน้องหมามีขนที่หนา จึงต้องแปรงขนและทำความสะอาดบ่อยๆขนจะได้ไม่พันกัน ควรตัดเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ ควรจูงน้องหมาเดินเล่นบ้างเพื่อให้น้องหมาได้ออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงของน้องหมาเอง
ส่วนโรคที่เกี่ยวกับน้องหมาทางผู้เขียนจะเขียนไว้ต่างหาก โดยผู้อ่านเข้าดูได้อีกเว็บเพจหนึ่งที่ชื่อ โรคและการดูแล

ขอขอบคุณรูปภาพน้องหมาพันธุ์ปักกิ่งน่ารักๆ จาก

    

น้องหมาพันธุ์บีเกิ้ล



ประวัติบีเกิ้ล ( Beagle)

บีเกิ้ล ( Beagle) เป็นสายพันธุ์สุนัขอยู่ในจำพวกกลุ่มสุนัขล่าเนื้อ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ เป็นสุนัขที่มีประสาทด้านการดมกลิ่นเป็นเลิศ (scent hounds) ความสามารถในการดมกลิ่นนี้เองที่ทำให้สุนัขพันบีเกิล จัดอยู่ในสุนัขล่าเนื้อ มีจุดประสงค์ในการเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้คือเพื่อเป็นผู้ช่วยมนุษย์ ในกีฬาการล่าต่างๆ โดยเฉพาะการล่ากระต่าย ด้วยประสาทด้านการดมกลิ่นที่ไวมาก จึงได้มีการฝึกให้เป็นสุนัขตรวจสอบของผิดกฎหมาย อย่างเช่น ยาเสพติด วัตถุระเบิด ฯลฯ แต่บีเกิ้ลยังได้รับความนิยมในฐานะสัตว์เลี้ยงเช่นกัน ด้วยขนาดตัวที่พอเหมาะ เป็นสุนัขอารมณ์ดี และสุขภาพแข็งแรงทนทานต่อโรค ด้วยคุณสมบัตินี้เอง บีเกิ้ลยังถูกใช้ในงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์อีกด้วย

ลักษณะทั่วไป

           น้องหมาบีเกิ้ล มีน้ำหนักตัว ประมาณ 18-30 ปอนด์ ส่วนสูงประมาณ 13-15 นิ้ว น้องหมาพันธุ์บีเกิ้ลมีลักษณะมีขนสั้นและหูปรก มีนิสัยเป็นมิตร ขี้ประจบ เห่าหอนบ้าง เมื่อเจอคนแปลกหน้า ไม่ดุร้าย ชอบอยู่กันเป็นกลุ่มๆ เป็นน้องหมาที่เชื่องถ้าจะเลี้ยงเพื่อเฝ้าบ้านคงไม่เหมาะกันนัก แต่ถ้าเลี้ยงเพื่อแก้เหงา เล่น และดูความน่ารักของน้องหมา รับรองพันธุ์นี้เป็นน้องหมาที่น่ารักอีกพันธุ์หนึ่งเลยทีเดียว
บีเกิ้ลเป็นสุนัขที่เหมาะกับเด็กๆ จึงเป็นสุนัขที่นิยมเลี้ยงกันในครัวเรือน แต่ว่าพวกมันเป็นสุนัขที่อยู่เป็นฝูง เวลานำไปเลี้ยงจึงอาจเกิดอาการซึมเศร้าได้ ไม่ใช่บีเกิ้ลทุกตัวที่จะหอน แต่ส่วนมากจะเห่าเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งบางตัวจะเห่าหรือหอน เมื่อรับรู้ถึงกลิ่นใดกลิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ บีเกิ้ลยังเข้ากับสุนัขสายพันธุ์อื่นได้ง่าย พวกมันแข็งแรงมาก จึงวิ่งเล่นได้นานโดยที่ไม่เหนื่อยง่ายๆ

โรคภัยของน้องหมาบีเกิ้ล

โรคทางพันธุกรรม

1.    Cherry eye

เกิดจารการอักเสบทำให้เปลือกตาที่สามขยายใหญ่ขึ้นและยื่นออกมา น้องหมาจะไม่ค่อยรู้สึกรำคาญมากนัก แต่สำหรับผู้พบเห็นน้องหมาแล้ว อาจจะดูน่าเกลียด ไม่น่ารัก การรักษาอาจต้องใช้การผ่าตัด

2.   Keratoconjunctivitis Sicca โรคตาแห้ง

โรคนี้ถือได้ว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงเพราะถ้าเจ้าของน้องหมาไม่ใส่ใจและดูแล ปล่อยปละละเลย อาจทำให้น้องหมาตาบอดได้ และโรคนี้เป็นโรคที่ทำให้น้องหมามีความเจ็บปวดอย่างมากด้วย ผู้ที่เลี้ยงน้องหมาควรใส่ใจให้มากๆนะครับ ส่วนสาเหตุของโรคตาแห้ง เกิดจากต่อมผลิตน้ำตาทำงานบกพร่องทำให้การผลิตน้ำหล่อเลี้ยงตาไม่เพียงพอ

3.  Glaucoma  ต้อหิน

โรคต้องหินเกิดจากที่ของเหลวในลูกตาไม่สามารถไหลเวียนกลับเข้ากระแสเลือดได้ตามปกติ จึงทำให้เกิดแรงดันในลูกตามากขึ้นและทำเป็นอันตรายต่อประสาทตา และโรคต้อหินนี้เป็นอีกโรคหนึ่งที่จะทำให้น้องหมาตาบอดได้ ดังนั้นเราควรใส่ใจเป็นพิเศษ
        โรคทางพันธุกรรมของน้องหมาพันธุ์บิเกิ้ล ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับดวงตา เพราะฉนั้นผู้ที่เลี้ยงน้องหมาพันธุ์บีเกิ้ล จึงต้องใส่ใจ และดูแล เรื่องดวงตาของน้องหมาให้เป็นพิเศษ    นอกจากโรคทางพันธุกรรมแล้วก็ยังมีโรคอื่นๆอีกที่น้องหมาอาจจะสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นได้ เช่นโรคไต โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และอื่นๆอีกมากมาย วันหลังถ้าเขียนเกี่ยวกับน้องหมาแต่ละพันธุ์เสร็จแล้ว จะนำโรคต่างๆที่น้องหมาอาจจะเป็น และ อาการของโรค โดยรวมมาลงไว้นะครับ

ขอขอบคุณรูปน้องหมาน่ารักๆ จาก        http://dode-dog.blogspot.com/2010/10/beagle.html

เว็บไซต์ดีๆ สำหรับคนรักหมา

น้องหมาพันธุ์ชิวาวา





ประวัติ น้องหมาพันธุ์ ชิวาวา ประวัติความเป็นมาของน้องหมาชิวาวา หรือ หมากระเป๋าที่เราชอบเรียกกัน มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก โดยชาวเม็กซิโกให้ตั้งชื่อน้องหมาพันธุ์ชิวาวานี้ว่า Techichi มีหลักฐานคือรูปแกะสลักสุนัขบนหินเป็นรูปของสุนัขที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชิวาวาในปัจจุบัน     รูปแกะสลักนี้ปัจจุบันอยู่ที่  monastery of Auejotzingo      ตั้งอยู่ในประเทศแม็กซิโก
        ถึงแม้ว่าถิ่นกำเนินเจ้าน้องหมาชิวาวาในอดีตคือประเทศเม็กซิโกแต่ในปัจจุบันนี้น้องหมาพันธุ์ชิวาวาเป็นที่นิยมในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยชาวอเมริกันพัฒนาสายพันธุ์ชิวาวา ย่อให้มีขนาดเล็กลง แต่ยังคงรูปร่าง รวมทั้งลักษณะนิสัยเดิมไว้ โดยทั่วไปชาวอเมริกันนิยมเลี้ยงชิวาวาขนสั้นมากกว่าชิวาวาขนยาว

ลักษณะทั่วไป

น้องหมาชิวาวาเป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่มีความฉลาด มีความรักในเจ้าของ คล่องแคล่ว ว่องไว มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีตาโตนัยน์ตามีสีดำสนิท ลักษณะนิสัยที่เด่นชัดคือ เป็นน้องหมาที่สงบเงียบ ไม่ชอบเห่า ยกเว้นกรณีที่ถูกรบกวน หรือทำให้ตกใจ ขนาดของน้องหมาพันธุ์นี้คือ ความสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.5-2.7 กิโลกรัม และเจ้าน้องหมาพันธุ์ชิวาวานี้มีทั้งขนสั้นและยาว แล้วแต่ใครจะชอบเลี้ยงแบบไหนนะครับ พันธุ์ขนยาวเพิ่งจะได้รับการพัฒนามาทีหลัง ดั้งเดิมนั้นเป็นขนสั้นครับ

โรคภัยของน้องหมาชิวาวา

โรคลำไส้อักเสบ

เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ถ้าน้องหมาได้รับเชื้อไวรัสนี้แล้ว อาการก็คือ ซึมเศร้า หงอยเหงา อาเจียน ท้องเสียอย่างรุนแรง อุจจาระเหลว เป็นสีเหลืองหรือเทา หรือบางทีก็ถ่ายปนเลือด มีกลิ่นคาวจัด มีน้ำหนักตัวลดลง ความรุนแรงของโรคลำไส้อักเสบนี้ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของน้องหมาด้วย ถ้ามีอาการอย่างนี้แล้ว พาไปหาสัตวแพทย์เลยดีกว่าครับ

สภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

มักพบในน้องหมาอายุประมาณ 2-3 เดือน มีอาการเดินเซไปเซมา ไม่มีเรี่ยวแรง ตาค้าง ตัวอ่อน ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดอาการชัก และ อาจตายได้ ถ้ามีอาการแบบนี้ ต้องพบสัตวแพทย์ หาทางเยียวยาทันที ปกติสภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนี้ เมื่อน้องหมาโตขึ้นก็จะไม่เป็นครับ

สภาวะสมองบวมน้ำ

มีน้องหมาบางตัวหัวโตผิดปกติ ก็มาจากสภาวะสมองบวมน้ำนี่แหล่ะครับ เป็นการผิดปกติของยีนส์ ยังไงก็รีบปรึกษาสัตวแพทย์เลยครับ

โรค เชอร์รี่อาย

โรคนี้พบมากในชิวาวา บีเกิ้ล  และบาสเซ็ต ฮาวน์ ลักษณะของโรคนี้คือ การที่ต่อมน้ำตาที่อยู่ใต้หนังตาชั้นที่สามของสุนัข เกิดการขยายใหญ่ขึ้น และโผล่ยื่นมาจากดวงตาของน้องหมา สังเกตุได้จากจะมีก้อนเนื้อสีแดงอยู่บริเวณหัวตาของน้องหมาอาจจะทั้งสองข้าง มีน้ำตาไหล มีขี้ตาเยอะ อย่างปล่อยทิ้งไว้ ให้พาน้องหมาของท่านไปพบสัตวแพทย์ อาจจะให้ยากิน หรือ ทำการผ่าตัด อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอาการและคำสั่งของสัตวแพทย์นั้นๆด้วย
โรคอื่นๆ เช่น  โรคไต โรคผิดหนัง ฯลฯ ไม่ว่าน้องหมาของท่านจะมีอาการอย่างไร ถ้ามีอาการที่ผิดปกติ ก็ควรรีบพาไปหาสัตวแพทย์ หรือไม่ก็หาสาเหตุ ดูอาการเบื้องต้น ว่าอาการแบบนี้ เกิดขึ้นจากอะไร และน้องหมาของท่านเป็นโรคอะไรกันแน่ แต่ที่สำคัญน้องหมา ก็เหมือนคนนะครับ ให้เขาออกกำลังกายบ้าง พาออกไปวิ่งเล่น ร่างกายจะได้แข็งแรง ไม่เป็นโรคนะครับ

เว็บไซต์อื่นๆที่เกี่ยวกับน้องหมา ที่อาจให้ข้อมูลท่านได้
http://www.chihuahua.in.th
http://www.dogilike.com
และขอบขอบคุณสำหรับรูปน้องหมาพันธุ์ชิวาวา จาก
http://pirun.ku.ac.th/~b5003087/dog1.html

น้องหมาพันธุ์ปั๊ก


ประวัติปั๊ก

สุนัขพันธุ์ปั๊กเป็นสุนัขที่เก่าแก่สายพันธุ์หนึ่ง มีกำเนิดมาจากประเทศจีนมาตั้งแต่ 400 ปี ก่อนคริสตกาล ในสมัยโบราณนิยมเลี้ยงไว้ในวัดจีน ต่อมาเริ่มมีการนำออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ก่อนจะเริ่มแพร่หลายไปยังหลาย ๆ ประเทศในแถบทวีปยุโรป
          ในประเทศฮอลแลนด์ สุนัขสายพันธุ์ปั๊กได้รับการยอมรับ และให้เกียรติเป็นอย่างมากเนื่องจากในอดีตมีสุนัขพันธุ์นี้ตัวหนึ่ง เคยช่วยชีวิตของเจ้าชายวิลเลียม โดยการเตือนให้พระองค์ทรงทราบว่าทหารของกองทัพของสเปนได้แอบลอบเข้ามาใกล้แล้วนั่นเอง
          ส่วนในประเทศฝรั่งในปี ค.ศ.1790 พระมเหสีของนโปเลียน ผู้นำประเทศฝรั่งเศสในยุคนั้นได้ซ่อนจดหมายไว้ที่ปลอกคอของปั๊ก  แล้วให้มันนำไปแจ้งข่าวสารต่อนโปเลียน เพื่อบอกกับนโปเลียนว่าพระนางถูกจับขังไวที่ Les Carmes
          จากวีรกรรมทั้งหลายทั้งมวลเหล่านี้เอง ทำให้สุนัขพันธุ์นี้เริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ก่อนจะถูกพัฒนาสายพันธุ์จนกลายเป็นรูปแบบของปั๊กที่สมบูรณ์แบบในประเทศอังกฤษ ต่อมา ปั๊ก เริ่มเป็นที่นิยมในประเทศอังกฤษมากขึ้น แต่จากจำนวนของสุนัขในกลุ่มทอยอื่น ๆ ที่ทวีจำนวนขึ้น ทำให้ความนิยมในตัวปั๊ก เริ่มลดลงตามลำดับ จนเกือบจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นเองพระเจ้าจอร์จที่ 3 ได้ทรงนำเข้าปั๊กจากประเทศฮอลแลนด์และออสเตรีย ทำให้เขาสามารถช่วยดำรงสายพันธุ์ปั๊กไว้ในประเทศอังกฤษมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะทั่วไปของปั๊ก

เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มีร่างกายเล็กปานกลาง มีหน้าสั้นและย่น ใบหูพับตก และมีขนสั้นเกรียน หางมีลักษณะ บิดเป็นเกลียวชี้ขึ้นม้วนจนเป็นวงติดกับบั้นเอว ถ้าหากหางม้วนได้ถึงสองตลบก็จัดว่าเป็นลักษณะที่สวยสมบูรณ์ทีสุด หายใจและกรนเสียงดัง

ลักษณะนิสัย

ธรรมชาติของ หมาปั๊ก จะเป็นสุนัขที่มีลักษณะเป็นมิตร ปราดเปรียว ว่องไว อารมณ์ดี อยากรู้อยากเห็น ชอบเข้าสังคม มีความนุ่มนวล แต่บางครั้งอาจมีความตื่นตัวและมีพละกำลังในการเล่นมาก ไม่ชอบทะเลาะเบาะแว้งกับสุนัขตัวอื่น ๆ มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ชอบพบปะทักทายกับคน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของหรือคนแปลกหน้า มีความฉลาดในระดับปานกลาง
 แม้จะเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่ชอบเข้าสังคม แต่ปั๊กก็เป็นสุนัขที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ดื้อรั้น แต่เข้มแข็ง มันมีนิสัยชอบเอาชนะ และเด็ดเดี่ยวมากพอตัวทีเดียว

การดูแล

โดยส่วนมากสุนัขพันธุ์นี้จะขี้เกียจ หากปล่อยให้อยู่ตามลำพังหรือไม่มีอุปกรณ์ฝึกเขา จึงควรพาเขาไปเดินเล่นหรือเล่นเกมโยนของไปให้เขาเก็บทุกวัน แต่อย่าให้เขาออกกำลังกายหนัก ๆ ในช่วงที่มีอากาศร้อน หรือหลังกินอาหารเสร็จ
          แม้สุนัขพันธุ์นี้จะไม่ต้องการการดุแลเสริมสวยให้ยุ่งยากมากนัก แต่ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษาความสะอาดทุกวัน อีกทั้งการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของการออกกำลังกาย ก็เป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้ปัก๊กจะไม่ใช่สุนัขที่รักกีฬา แต่การพาเขาไปออกกำลังกายให้พอเพียง ก็จะช่วยให้เขาไม่อ้วนและกลายเป็นสุนัขที่เฉื่อยชาจนเกินไป
 เนื่องจากรูปทรงของตาและใบหน้าทำให้สุนัขสายพันธุ์นี้มีแนวโน้มที่จะเกิดการบาดเจ็บที่ตาได้ง่าย ถ้าปั๊กของคุณกำลังถูตาอยู่ กระพริบตาถี่ ๆ มีน้ำตาไหลมากเกิน หรือตามีการเปลี่ยนสีไป ควรปรึกษาสัตวแพทย์ของคุณโดยทันที และการที่เป็นสุนัขจมูกสั้น เขาจึงมักมีปัญหาเกี่ยวกับเพดานปากอ่อน จึงจำเป็นต้องตรวจสอบอยู่เสมอ
          นอกจากนี้ ปั๊กยังมีความเสี่ยงที่จะอ้วนได้ง่าย ดังนั้น การควบคุมปริมาณอาหารและการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งจำเป็น โครงสร้างกะโหลกศีรษะที่สั้น ส่งผลให้ปั๊ก มักมีปัญหาระบบทางเดินหายใจส่วนต้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือภายหลังการออกกำลังกายอย่างหนัก จึงควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มากเกินไป และการเลี้ยงดูในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง

โรคภัยของน้องหมา

 ความผิดปกติต่าง ๆ ของนัยน์ตา เช่น หนังตาม้วน โรคตาแห้ง กระจกตาอักเสบ แผลหลุมบริเวณกระจกตา
          ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ กลุ่มอาการผิดปกติของท่อทางเดินหายใจส่วนต้น ในสุนัขสายพันธุ์ที่มีใบหน้าสั้น
          ระบบทางเดินสืบพันธุ์ ได้แก่ ภาวะคลอดยาก เนื่องจากขนาดหัว และช่วงไหล่ของลูกสุนัขมีขนาดใหญ่นั่นเอง


ขอขอบคุณสำหรับรูปน้องหมาพันธุ์ปั๊กน่ารักๆ จาก 
http://petastute.blogspot.com/2010_11_01_archive.html

น้องหมาพันธุ์พุดเดิ้ล

                                                                                       

พุดเดิ้ล (Poodle)  สายพันธุ์นี้ ได้ชื่อว่าเป็นน้องหมา ที่มีความนิยมอันดับต้นๆของโลกเลยก็ว่าได้ ลักษณะนิสัยของสายพันธุ์นี้ขึ้นชื่อว่าฉลาด ฝึกง่าย สอนง่าย ขี้อ้อน และประจบเก่งเป็นที่สุด แถมยังอดทนไม่ขี้แย เลี้ยงง่าย แม้จะปากเปราะไปบ้างแต่ก็ไม่ได้เป็นหมาที่เห่าไม่รู้เรื่อง พุดเดิ้ลแบ่งเป็น สายพันธุ์แต่ในบ้านเราที่นิยมเลี้ยงที่สุดคือ พุดเดิ้ลทอย มันกลายเป็นหวานใจตัวน้อยๆของหลายๆ ครอบครัว เพราะขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ แถมยังมีลักษณะเป็นเหมือนเหมือนตุ๊กตาที่มีชีวิต สดใสมีชีวิตชีวา มีนิสัยรักสวยรักงาม ชอบเสริมสวย ชอบเที่ยว และเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้เร็ว

  ประวัติ
    ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีกำเนิดในประเทศใด บางข้อมูลกล่าวว่ามีกำเนิดในประเทศเยอรมัน โดยรู้จักกันในนาม Pudle แต่บางท่านกล่าวว่า Poodle เป็นสุนัขประจำชาติของฝรั่งเศสโดยชาวฝรั่งเศสมักนิยมใช้สุนัขพันธุ์นี้ในการคาบสิ่งของ หรือฝึกแสดงในละครสัตว์ และชอบที่จะตัดแต่งทรงขนซึ่งมีลักษณะหยิกแน่นเป็นขดเป็นทรงต่างๆตามแฟชั่น เป็นที่โปรดปราน แก่บรรดาคุณหญิงคุณนายชาวฝรั่งเศสกันมาช้านาน
       พุดเดิ้ล (Poodle) มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนีตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ไม่สามารถสรุปแน่ชัดว่าต้นกำเนิดจริงๆ เป็นประเทศเยอรมนีหรือประเทศฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ประเทศต่างนิยมเลี้ยง พุดเดิ้ล ไว้เพื่อใช้งาน "เก็บของในน้ำ" เหมือนกัน ซึ่งนั่นก็คือ "นกเป็ดน้ำ" ที่ชาวไร่ชาวนายิงได้
          ในประเทศเยอรมนี พุดเดิ้ล ถูกเรียกว่า "Pudel" หรือ "Pudelin" ซึ่งแปลว่า "กระโดดน้ำ" (สันนิษฐานกันว่าชื่อ Poodle ในภาษาอังกฤษที่เราเรียกกันนั้นก็น่าจะมีรากศัพท์มาจากคำว่า Pudel หรือ Pudelin ส่วนในประเทศฝรั่งเศส พุดเดิ้ลเป็นที่นิยมอย่างสูงมากจนได้การยกย่องให้เป็นสุนัขประจำชาติ ที่นี่...พวกมันมีฉายาว่า "Caniche" ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก "chien canard" แปลว่า "สุนัขล่าเป็ด"

ลักษณะรูปร่าง (Poodle)

พุดเดิ้ลจะมีชีวิตราวๆ 12 ปี  พุดเดิ้ลส่วนใหญ่จะมี ขนาดน้ำหนักประมาณ 12-14 กิโลกรัม สูง 28-38 เซ็นติเมตร   มีหลายสีตั้งแต่ ขาว น้ำตาล ช็อคโกแลต ดำ ลักษณะหัวจะกลม กระหม่อมแคบ ตำกลมโต ปากแหลม หูปรกลง ลักษณะขนของพุดเดิ้ลตามธรรมชาติจะสากที่บนผิวด้านนอกมีความดกทั่วตัว และขนเป็นคลื่นหรือลอนหยัก มีพุดเดิ้ลที่มีขนเป็นพุ่มก้อนตามที่รู้จักกันว่าเป็นแบบของพุดเดิ้ล ขนแบบนี้จะเกาะกันเป็นพุ่มก้อน ขนที่เป็นพุ่มดกจะยาวไม่เท่ากันส่วนขนบริเวณแผงคอ, ลำตัว, หัวและหูจะยาวกว่าส่วนอื่นๆ แต่ตรงก้อนที่ฟูพองเป็นพุ่มนั้นขนจะสั้นกว่าส่วนอื่นหางจะตั้งตรง ยกขึ้นสูงและไม่ตกลง
สุนัข พุดเดิ้ล (Poodle)  แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
          1. พุดเดิ้ลทอย (Toy Poodle) เป็นพุดเดิ้ลขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 12 นิ้ว หนักประมาณ 6 กิโลกรัม
          2. พุดเดิ้ล มินิเจอร์ (Miniture Poodle) เป็นพุดเดิ้ลขนาดกลาง สูงประมาณ 11-15 นิ้ว หนักประมาณ 11 กิโลกรัม
          3. พุดเดิ้ล สแตนดาร์ด (Standard Poodle) เป็นพุดเดิ้ลขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18-22 นิ้ว หนักประมาณ 20 กิโลกรัม


การดูแล

          อาหารของน้องหมาพุดเดิ้ลควรเป็นอาหารสำเร็จรูป และควรเลือกอาหารตามอายุของน้องหมาด้วย เนื่องจากน้องหมาในแต่ละวัยมีความต้องการอาหารที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ลูกสุนัข จำเป็นต้องได้รับสารอาหารจำพวกโปรตีนสูงกว่าสุนัขโต ในขณะที่ร่างกายของสุนัขโตจะต้องการอาหารประเภทพลังงานมากกว่าโปรตีน อย่างนี้เป็นต้น และต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาดด้วย ในเรื่องภาชนะที่ใส่อาหารต้องหมั่นทำความสะอาดเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค มาทำร้ายน้องหมาของท่านได้
       ส่วนในด้านการดูแลความสะอาดของ พุดเดิ้ล จะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องหู เพราะ พุดเดิ้ล มีใบหูที่ใหญ่ หนา ห้อยปรกลงมา จึงต้องหมั่นสำรวจดูใบหูบ่อยๆ แล้วใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดให้หมดจด ซึ่งจะดีมากหากจะหยอดน้ำยาเช็ดหูเข้าไปก่อนประมาณ 5 นาทีเพื่อทำให้สิ่งสกปรกอ่อนตัว และง่ายในการเช็ดออกมา แต่ระวังอย่าแหย่สำลีลึกจนเกินไป เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อหูชั้นในได้
        นอกจากนี้ ตาก็เป็นอวัยวะสำคัญที่พบปัญหา พูเดิ้ล ส่วนใหญ่จะมีร่องน้ำตาที่เห็นได้ค่อนข้างชัด ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้คราบน้ำตาหรือสิ่งสกปรกไปหมักหมมได้ง่าย เจ้าของจึงควรคอยเช็ดทำความสะอาดให้ทุกวัน เพราะหากทิ้งไว้นานๆ คราบนั้นจะฝังแน่นอย่างถาวร เช็ดไม่ออก นอกจากนั้น ยังควรหมั่นตรวจดูดวงตาของ สุนัข พูเดิ้ล ด้วยว่ามีฝ้าขาวๆ หรือรอยขีดข่วน รอยแผลบ้างหรือไม่

โรคภัยของน้องหมาพันธุ์พุดเดิ้ล(Poodle)  

1.             โรคเกี่ยวกับตา โรคต้อกระจก น้องหมาพันธุ์นี้มีดวงตาโตกลมเหมือนพันธุ์ชิสุ แต่โอกาสเป็นโรคต้อกระจกได้มากกว่าพันธุ์อื่นๆเจ้าของสามารถสังเกตอาการป่วยของพูเดิ้ลเมื่อป่วยด้วยโรคตา สังเกตได้จากเริ่มตาแดง ตาฝ้า บางครั้งจะมีน้ำตาเอ่อ มีขี้ตามากผิดปกติ ชอบเกาตาหรือไถตากับพื้นหรือฝาผนัง ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดสุด คือ การเดินชนของ เดินขึ้นบันไดลงบันไดไม่ค่อยถนัด หาชามข้าวไม่พบ เป็นต้น ซึ่งหากพบมีอาการเหล่านี้ควรนำมาพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาอย่างตรงจุด
2.             โรคหัวใจ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในโครงสร้างและหน้าที่ของหัวใจ หรือความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งอาการของ สุนัข ที่มีปัญหา โรคหัวใจ จะมีอาการซึมเศร้า  น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หรือกินอาหารได้น้อยลง ท้องกาง ไอแห้งๆ และมักไอเวลากลางคืน มีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนแรง หายใจลำบาก เหงือกซีด  เป็นลมหมดสติ ทั้งนี้ สุนัข พุดเดิ้ล ที่เป็นโรคหัวใจ สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ แต่จะต้องดูแลเรื่องการให้ยาอย่างใกล้ชิด ควรงดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้สัตว์เหนื่อย เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น และสิ่งสำคัญคือ ระวังในเรื่องการให้อาหารและน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือ ต้องมีปริมาณเกลือต่ำ
      นอกจากโรคดังกล่าวที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีโรคอื่นๆอีกที่จะมาทำอันตราย มาคุกคาม น้องหมาของท่าน ดังนั้นเราจึงควรที่จะดูแลเอาใจใส่ โดยการไปหาสัตวแพทย์และฉีดวัคซีนตามระยะเวลาที่สัตวแพทย์กำหนด เพื่อที่เราจะได้มีน้องหมาน่ารักๆอยู่กับเราไปนานๆ


ขอขอบคุณรูปน้องหมาพุดเดิ้ลจาก     http://nareekan.wordpress.com